สำรวจความเสี่ยงเชิงเศรษฐกิจมหภาคและผลกระทบ

  • สำรวจความเสี่ยงเชิงเศรษฐกิจมหภาคและผลกระทบสำรวจความเสี่ยงเชิงเศรษฐกิจมหภาคและผลกระทบ
แชร์:Share to FacebookShare to TwitterShare to LinkedIn

 

เมษายน 2563

 

การสำรวจความเสี่ยงเชิงเศรษฐกิจมหภาค: เราทำการสำรวจกับผู้มีอำนาจตัดสินใจหลักของบริษัท 300 รายทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (64%) จีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง (36%) เพื่อสำรวจความเสี่ยงเชิงเศรษฐกิจมหภาคภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนในปัจจุบัน หลังจากที่ดำเนินการสำรวจเสร็จสิ้นในวันที่ 24 มกราคม 2563 เราได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเพื่อติดตามผลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19 กับกลุ่มตัวอย่างของผู้ตอบแบบสำรวจ

 

ภาคธุรกิจที่ศึกษา: สำหรับสัดส่วนของภาคธุรกิจที่ศึกษาในการสำรวจนี้ ภาคอุตสาหกรรม (IND) 24%, สินค้าอุปโภคบริโภค (CG) 22%, น้ำมัน ก๊าซ และเคมีภัณฑ์ (O&G) 19%, การก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน (C&I) 15%, เทคโนโลยี สื่อ และการสื่อสารโทรคมนาคม (TMT) 12%, และอสังหาริมทรัพย์และการโรงแรม(REH) 9%

 

การจัดอันดับความเสี่ยงเชิงเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญ: การสำรวจครั้งแรกของเราชี้ให้เห็นว่าการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเป็นความเสี่ยงเชิงเศรษฐกิจมหภาคที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุด ตามด้วยการพิจารณาสินเชื่อ ที่เข้มงวดขึ้น ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยความกังวลเรื่องการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงทวีความเข้มข้นขึ้นจากการเกิดโควิด-19

 

การชะลอตัวของเศรษฐกิจหลังจากโควิด-19: ตลาดมีมุมมองที่เป็นลบอย่างชัดเจนตั้งแต่โควิด-19 เริ่มต้นขึ้น ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนมากเน้นย้ำว่าผลกระทบจากโควิด-19 รุนแรงกว่าผลกระทบจากสถานการณ์ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน นอกจากนี้ ยังมีความเร่งด่วนในการดำเนินมาตรการต่างๆ เช่น การลดต้นทุน การกระจายธุรกิจสู่ตลาดใหม่ๆ และแหล่งผลิตและจัดหาที่เป็นทางเลือก อันเป็นผลมาจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน

 

มาตรการในการจัดการกับความเสี่ยงเชิงเศรษฐกิจมหภาคที่เพิ่มขึ้น: เนื่องจากความเสี่ยงเชิงเศรษฐกิจมหภาคที่เพิ่มขึ้น ประเด็นที่ผู้ตอบแบบสำรวจให้ความสำคัญเป็นหลัก ได้แก่ กลยุทธ์เชิงยุทธวิธีระยะสั้น เช่น การควบคุมต้นทุนและการขยายธุรกิจอย่างระมัดระวัง/การชะลอการขยายธุรกิจ รวมถึงมาตรการเชิงกลยุทธ์ระยะกลาง เช่น การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและการสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์/แหล่งรายได้ ประเด็นที่น่าสนใจคือโควิด-19 มีแนวโน้มจะส่งผลให้องค์กรต่างๆ เริ่มทบทวนห่วงโซ่อุปทานของตนภายหลังที่ได้ผลกระทบ โดยเวียดนามและอินโดนีเซียเป็นผู้ได้ผลประโยชน์หลักจากบริษัทที่ต้องการกระจายฐานการผลิตหรือตลาด

UOB มีโซลูชั่นเพื่อสนับสนุนธุรกิจของท่านให้สามารถตอบสนองต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลกได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นของธนาคาร โปรดติดต่อ

คลิกที่ปุ่มเพื่ออ่านมุมมองอุตสาหกรรมฉบับเต็ม

ดาวน์โหลด