อนาคตพลังงาน & พลังงานหมุนเวียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • The sun is shining on solar power in Southeast AsiaThe sun is shining on solar power in Southeast Asia
แชร์:Share to FacebookShare to TwitterShare to LinkedIn

 

มิถุนายน 2562

 

ความต้องการใช้ไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะโตในอัตรา 3.7% ต่อปี คิดเป็นสองเท่าของค่าเฉลี่ยโลกในช่วงปี 2559-2583 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ความเป็นชุมชนเมือง รายได้ที่เพิ่มขึ้นและการเข้าถึงไฟฟ้าที่ดียิ่งขึ้น เป็นที่คาดการณ์ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศลาวจะเติบโตสูงสุดที่17% ต่อปีในช่วงปี 2557-2568 ตามมาด้วยอินโดนีเซียและกัมพูชาที่ 11% และเพื่อตอบสนองกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น คาดว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มมากกว่าสองเท่าจาก 241 จิกะวัตต์ ในปี 2559 เป็น 566 จิกะวัตต์ ในปี 2583

ภาพรวมพลังงานฟอสซิล
พลังงานแบบเดิมจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจะยังเป็นแหล่งพลังงานหลักอยู่ แม้ว่าสัดส่วนการใช้จะลดลงจาก 77% ในปี 2559 เป็น 63% ในปี 2583 การผลิตพลังงานจากถ่านหินจะยังคงเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าจากเดิม 66 จิกะวัตต์ ในปี 2559 เป็น 160 จิกะวัตต์ ในปี 2583 เนื่องจากเป็นแหล่งเชื้องเพลิงที่มีราคาต่ำ อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่ใช้ระบบ Supercritical และระบบ Ultra Super Critical จะมีสัดส่วนอยู่ที่ ~70% ของกำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ทั้งหมดเพื่อที่จะสามารถเข้ามาแทนที่โรงไฟฟ้าถ่านหินเดิมประมาณครึ่งหนึ่งของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ทั้งหมดในปี 2583

ภาพรวมพลังงานหมุนเวียน
พลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วนอยู่ที่ 24% ของกำลังการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2561 ซึ่งในสัดส่วนดังกล่าวประกอบด้วยพลังงานจากน้ำและส่วนมากจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนอยู่ที่ 74% ทั้งนี้ พลังงานหมุนเวียนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 37% ของกำลังการผลิตทั้งหมดในปี 2583 ซึ่งเป็นผลมาจากความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนที่ถูกกว่าและมีนโยบายสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน

แม้ว่าพลังงานน้ำจะเพิ่มขึ้น >150% ในช่วงปี 2559-2583 แต่น้ำก็จะยังคงเป็นพลังงานหลักของกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนพลังงานน้ำจะลดลงจาก 74% ในปี 2559 เหลือแค่ 50% ในปี 2583 เนื่องจากพลังงานลมและเซลล์แสงอาทิตย์จะมีความต้องการสูงขึ้น 14% และ 11% ต่อปีตามลำดับ ส่งผลให้เซลล์แสงอาทิตย์มีสัดส่วนอยู่ที่ 25% ของกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดในปี 2583 จากเดิมอยู่ที่ 7% ในปี 2561 ซึ่งเป็นผลมาจากการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐและต้นทุนการลงทุนธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ที่ถูกลง ทำให้เราสามารถเห็นกำไรและโอกาสในการลงทุนได้

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นข้างต้นและคำแนะนำทางธนาคารเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจในพลังงานหมุนเวียน โปรด คลิกที่นี่.

คลิกที่ปุ่มเพื่ออ่านการวิเคราะห์อุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ

ดาวน์โหลด