แสงสว่างจากพลังงานแสงอาทิตย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • The sun is shining on solar power in Southeast AsiaThe sun is shining on solar power in Southeast Asia
แชร์:Share to FacebookShare to TwitterShare to LinkedIn

 

มิถุนายน 2562

 

พลังงานแสงอาทิตย์ขับเคลื่อนการเติบโตของพลังงานหมุนเวียน

พลังงานหมุนเวียนมีกำลังการผลิตทั่วโลก 2,351 กิกะวัตต์ (+7.9% เมื่อเทียบปีต่อปี) คิดเป็นเกือบหนึ่งในสามของกำลังการผลิตพลังงานทั้งหมด ณ สิ้นปี 2561 และคาดว่ากำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนจะเติบโตในอัตราที่สูงกว่ากำลังการผลิตพลังงานสิ้นเปลือง ทั้งนี้ ในบรรดาพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด พลังงานแสงอาทิตย์เป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญ ตามด้วยพลังงานลม โดยพลังงานจากสองแหล่งนี้คิดเป็น 84% ของกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่ติดตั้งใหม่ในปี 2561 ซึ่งทำให้สัดส่วนของพลังงานน้ำลดลงเหลือไม่ถึง 50%

จุดเปลี่ยนที่สำคัญของพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์

ในมุมมองของเรา อัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งของกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เกิดจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ (1) สถานการณ์ที่ต้นทุนไฟฟ้าที่ผลิตเองมีราคาต่ำกว่าราคาไฟฟ้าจากสายส่ง (Grid Parity) (2) ต้นทุนการกักเก็บพลังงานที่ถูกลง (3) ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) และ (4) การสนับสนุนด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม โดยสถานการณ์ Grid Parity ซึ่งเกิดจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย (Levelized Cost of Energy: LCOE) ที่ต่ำลงและต้นทุนการกักเก็บพลังงานที่ถูกลงทำให้พลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์มีความได้เปรียบด้านราคาเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิล เห็นได้จากราคาต้นทุนการไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย (LCOE) สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์และต้นทุนการกักเก็บพลังงานที่ลดต่ำลงถึง 80% ตั้งแต่ปี 2553

มุมมองที่ดีสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา

นอกจากต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคายังเติบโตอย่างแข็งแกร่งเนื่องจากการสนับสนุนด้านกฎเกณฑ์และมาตรการจูงใจโดยรัฐบาลของประเทศในกลุ่มอาเซียนในประเทศไทย ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาเติบโตเนื่องจากการผ่อนคลายกฎระเบียบจากภาครัฐ และในประเทศอินโดนีเซีย มีมาตรการภาครัฐที่ส่งเสริมด้วยอัตราภาษีที่ต่ำกว่าปัจจุบันถึง 35%

ในขณะที่ประเทศมาเลเซียตั้งเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ระดับสูง (20% ของปริมาณการใช้พลังงานแบบผสมภายในปี 2568) และได้ปรับโครงการมิเตอร์แบบหักลบสุทธิ (Net Energy Metering: NEM) สำหรับบริษัทในภาคพาณิชย์และอุตสาหกรรม ในระยะยาว มาเลเซียมีแผนแม่บทระยะเวลา 10 ปี ที่จะปฏิรูปอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศซึ่งจะช่วยกระตุ้นความต้องการพลังงานหมุนเวียน สำหรับประเทศเวียดนาม มาตรการรับซื้อไฟฟ้าในอัตราที่สูงเป็นปัจจัยหลักในการเติบโตแม้ว่าจะยังคงมีประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการจำกัดปริมาณและความสามารถของระบบโครงข่าย

จากมุมมองเรื่องโอกาสในพลังงานแสงอาทิตย์ ธนาคารยูโอบีได้เปิดโครงการ ยู-โซลาร์ (U-Solar Program) ซึ่งเป็นบริการสินเชื่อเพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในภูมิภาคในรูปแบบการให้บริการที่ครอบคลุม “one-stop-shop” เพื่อช่วยให้ผู้พัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ผู้รับเหมา และผู้ใช้งานขั้นสุดท้าย ได้รับประโยชน์จากโอกาสในพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองเชิงลึกข้างต้นและบริการทางธนาคารของเรา iโปรด คลิกที่นี่

คลิกที่ปุ่มเพื่ออ่านการวิเคราะห์อุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ

ดาวน์โหลด